วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

นิเทศนิสิตฝึกสอน_๐๗: โรงเรียนยางตลาดวิทยาคาร ปีการศึกษา ๒๕๖๒ คนที่ ๒

คนที่ ๒ ของวันนี้ (๑๙ มิ.ย. ๒๕๖๒) จัดการเรียนรู้เรื่อง สารบริสุทธิ์และสารผสม ELO (Expected Learning Outcome) คือ อยากจะให้เด็กนักเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างการเดือดของสารบริสุทธิ์และสารไม่บริสุทธิ์ และสามารถทดลองหาจุดเดือดของสารทั้งสองได้  โดยใช้น้ำกลั่น (สารบริสุทธิ์) และน้ำกลั่นผสมเกลือแกง (NaCl) เป็นตัวอย่างของสารละลาย (สารไม่บริสุทธิ์)  ซึ่งถ้านักเรียนเข้าใจ จะสามารถอธิบายกราฟความสัมพันธ์ของอุณหภูมิของสารในการต้มด้านล่างนี้ได้ 

อ้างอิง จากเว็บไซต์ http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/Matter.htm

หากเป็นไปได้ การจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกการเป็นครูวิทยาศาสตร์ เด็ก ๆ ควรจะได้ทดลองแบบการจัดการเรียนการสอนนี้  โดยธรรมชาติบรรยากาศจะคึกคักสนุกดี 





ได้สะท้อนป้อนกลับ (Feedback) เพื่อการพัฒนาสำหรับลูกศิษย์ชื่อแปลก ๖ ข้อ ได้แก่ 
  • ครูวิทยาศาสตร์ คือ ครูผู้มุ่งปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ และฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ศิษย์ ...จงออกแบบการสอนให้ครบกระบวนการเสมอ คำอธิบายจะคล้ายกับคอมเมนต์สำหรับนิสิตคนที่ ๑ (ที่นี่)
  • การออกแบบการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนที่ยังไม่มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากนัก อาจต้องทำเป็นคู่มือหรือใบงาน แสดงขั้นตอนการปฏิบัติที่ละขั้น หรือไม่งั้นก็ต้องพาทำทีละสเต็ป  (ความปลอดภัยสำคัญที่สุด)
  • วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งสากล ไม่เหมือนศึกษาศาสตร์ที่ว่าเรื่องคนซึ่งต่างไปในแต่ละวัฒนธรรมหรือสังคม  การฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์จึงควรมีมาตรฐานสากล เริ่มจากอุปกรณ์และขั้นตอนพื้นฐานจำเป็น ๆ ที่เด็กควรรู้และทำเป็น  
  • "จัดกำลังคน"  ถ้าเป็นงานกลุ่ม นักเรียนควรจะได้นั่งเป็นกลุ่ม และแบ่งหน้าที่กันชัด การจัดการอาจง่ายขึ้น 
  • การออกแบบการทดลองและกิจกรรมนำเรียนรู้ ต้องนำไปสู่ ELO  ให้ได้ 
สิ่งสำคัญของทุกกิจกรรมการสอนคือ ต้องให้เวลา แบ่งเวลา ให้นักเรียนได้ ร่วมกันสรุปผลการทดลอง และสะท้อนการเรียนรู้  (Learning Reflection) ก่อนจะสรุปสารสำคัญแม่น ๆ 

ก่อนจะจบและจากกันวันนี้ เรามีข้อตกลงร่วมกัน เช่นเดียวกับที่บอกไปกับนิสิตคนที่ ๑  (ที่นี่
ลาทีสำหรับวันนี้ สวัสดีครับ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น