วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

หลักสูตร กศ.ม. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์_๐๓ : วิพากษ์หลักสูตร

ย้อนกลับประมาณวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๗  ๑ อาทิตย์ก่อนการประชุม ผมได้รับเล่มหลักสูตรฯ จากคุณศิริพร (พี่แอ๋น)  ผมพิจารณาแล้วนำมาเขียนวิพากษ์ โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น .... แต่ก็อยากจะแบ่งปันเผื่อจะมีประโยชน์ สำหรับผู้เปิดใจต่อไปครับ ...

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


ข้อความเห็นต่อหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๗)

๑)     เป็นหลักสูตรที่เน้น “วิชา” และ “การสอน” หรือ “วิชาการสอน” ซึ่งหากหมายความตามอักษร จะแสดงถึงการจัดการเรียนรู้ที่ “เน้นวิชา” และ “เน้นการสอน” ซึ่งสวนทางกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่เน้น “กระบวนการ” มากกว่าเน้น “เนื้อหา” เน้น “ปัญญา” มากกว่าเน้น “วิชา” โดยมุ่งจัดให้ “สอนน้อย เรียนมาก” ครูสอนน้อยแต่นักเรียนได้เรียนมาก ....  เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเปลี่ยนชื่อหลักสูตรใหม่เป็น “สาขาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์...)  เพื่อสื่อความหมายถึง “การจัดการเรียนรู้” ซึ่งเน้นฝึกให้บัณฑิตเป็น “นักออกแบบการเรียนรู้” อันเป็นบทบาทสำคัญของครูในศตวรรษที่ ๒๑
๒)     เกี่ยวกับข้อที่ ๑๑. สถานการณ์ภายนอกหรือการพัฒนาที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนหลักสูตร กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ ๒๑  และการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ทำให้ทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ เป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน โดยเฉพาะทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ จึงจำเป็นต้องผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถอย่างลึกซึ้งในสาระวิชา...การใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสาร ถ่ายทอดสาระความรู้....
๑.     ควรกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อวิธีการเรียนรู้ เช่น .... องค์ความรู้ที่เพิ่มขึ้นมากล้นและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่ดี และวิธีการรับรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยสิ้นเชิง การเข้าถึงข้อมูลและการสื่อสารข้อมูลสู่ผู้อื่นเป็นเรื่องง่ายยิ่ง เพียงแต่ต้องมีทักษะการเรียนรู้ที่ดี เช่น การอ่าน การคิด การเขียน โดยเฉพาะทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนทุกคนเท่าเทียมด้านการการศึกษามากขึ้น โดยการสืบค้นและเรียนรู้ด้วยตนเอง
๒.     ควรกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับผู้เรียน เช่น  .... ในโลกโลกาภิวัตน์และระบบทุนนิยม มีสิ่งยั่วยุจำนวนมาก มีสิ่งรบกวนสมาธิมาก ทำให้ผู้เรียนตกอยู่ในกระแสและอิทธิพลของสิ่งเร้าภายนอก หลงเพลินไปกับสิ่งบันเทิงและความสุขจากการเสพโดยไม่เกิดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนรู้บนฐานปัญหาจริงในชีวิต  ถือเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนรู้จักเหตุและผล สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันและแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
๓.     ควรกล่าวถึงบทบาทของครู ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไป  เช่น .... ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมีความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ สามารถวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลได้อย่างถูกต้อง มีทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ “ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกนำเสนอ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ และมีทักษะการทำงนเป็นทีม โดยมีบทบาทเป็นทั้งผู้อำนวยการเรียนรู้ (Facilitator) เป็นครูฝึก (Coach) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) และเป็นผู้สร้างชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Community) เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกฝน สั่งสมความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการมีชีวิตที่ดีในอนาคต
๓)     ปรัชญาของหลักสูตร ......มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์...

๔)     เกี่ยวกับรายวิชา  .... ควรปรับเปลี่ยนมุมมองในการจัดการเรียนรู้ของหลักสูตรฯ จากที่ต้องการให้ “รู้วิชา” “เนื้อหา” เป็นการเรียนรู้ให้เกิด “ทักษะ” และ “ฉันทะ” ที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีมีประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น  มหาบัณฑิตจะต้องมีความสามารถในการสร้างนักเรียน ให้มีพื้นฐานความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น สามารถออกแบบวิธีการเรียนรู้การจุดประกายความพิศวง (Fascination) หรือความใคร่รู้ (Inquiry Mind) และความหลงใหล (passion) หรือแรงบันดาลใจ (Inspiration) ต่อการเรียนรู้  โดยนักเรียนต้องได้เรียนรู้ “ทักษะของการเป็นนักวิทยาศาสตร์” ใน ๓ มิติ ดังต่อไปนี้ (วิจารณ์ พานิช: http://www.gotoknow.org/posts/483560) (A Framework for K-12 Science Education : Practices, Crosscutting Concepts and Core Ideas ซึ่งจัดพิมพ์โดย The National Academies ของสหรัฐอเมริกา)

เรียนรู้มิติภาคปฏิบัติด้านวิทยาศาสตร์ และด้านวิศวกรรมศาตร์  ๘ ประการ


๑. ตั้งคำถาม (สำหรับวิทยาศาสตร์)  และระบุปัญหา (สำหรับวิศวกรรมศาสตร์)

๒. พัฒนารูปแบบ (model) และใช้รูปแบบ

๓. วางแผนและลงมือดำเนินการทดลอง (investigation)

๔. วิเคราะห์และตีความข้อมูล


๕. ใช้วิธีคิดเชิงคณิตศาสตร์และการใช้คอมพิวเตอร์

๖. สร้างคำอธิบาย (explanation สำหรับวิทยาศาสตร์) และออกแบบวิธีแก้ปัญหา (solution สำหรับวิศวกรรมศาสตร์)

๗. มีส่วนร่วมกันโต้แย้ง (argument) โดยใช้ข้อมูลหลักฐาน (evidence)

๘. ทำให้เกิด (obtain)  ประเมิน (evaluate) และสื่อสาร (communicate) สารสนเทศ (information)


หลักการหรือสิ่งที่ต้องเรียนรู้ในทุกโอกาส


๑. pattern

๒. สาเหตุ และผลที่เกิดขึ้น : กลไก และคำอธิบาย

๓. สเกล สัดส่วน และปริมาณ
๔. ระบบ และโมเดลของระบบ

๕. พลังงานและสสาร : การไหล วงจร และการอนุรักษ์

๖. โครงสร้าง และหน้าที่

๗. ความมั่นคงดำรงอยู่ และการเปลี่ยนแปลง


แนวคิดหลักด้านการเรียนรู้ (สาระ) ในสาขาวิชา


วิทยาศาสตร์กายภาพ


PS1 สสารและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสสาร

PS2 การเคลื่อนไหว และความมั่นคง (stability) : แรงและปฏิสัมพันธ์

PS3 พลังงาน

PS4  คลื่นและการประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร


วิทยาศาสตร์ชีวภาพ


LS1  จากโมเลกุลสู่สิ่งมีชีวิต (organism) : โครงสร้างและกระบวนการ


LS2  ระบบนิเวศน์ : พลังงาน ปฏิสัมพันธ์ และพลวัต


LS3  พันธุกรรม : การถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และความแตกต่างของลักษณะ
LS4  วิวัฒนาการทางชีววิทยา  : เอกภาพและความหลากหลาย

วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกและอวกาศ


ES1  ตำแหน่งของโลกในจักรวาล

ES2  ระบบโลก
ES3  โลกกับกิจกรรมของมนุษย์


วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์


ETS1  การออกแบบทางวิศวกรรม

ETS2  ความเชื่อมโยงระหว่าง วิศวกรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และสังคม

ควรมีรายวิชา ที่นิสิตจะได้ศึกษาชีวิต วิธีคิด กระบวนการทำงาน และผลงานเด่นๆ ของนักวิทยาศาสตร์ทั้งภายใน (นักวิทยาศาสตร์จากคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัย) และภายนอก (ต่างมหาวิทยาลัยหรือตางประเทศ (ถ้ามี)) 

ควรมีวิชาที่จะพานิสิตไปเรียนรู้จาก BP ผู้มีประสบการณ์ ไปศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ แล้วนำมา “ถกเถียง ถอดบทเรียน”  

วิชาบังคับเอก เช่น ๐๒๐๔๕๕๕, ๐๒๐๔๕๕๖, ๐๒๐๔๕๒๘, ๐๒๐๔๕๒๐, ๐๒๐๔๕๔๐  ควรปรับให้เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learning by doing) และเน้นการนำหลักวิชาความรู้ไปใช้เชื่อมโยงกับการดำเนินชีวิต เช่น ปรับให้เป็นการเรียนรู้แบบ PBL ฯลฯ 

ควรมีวิชาที่ว่าด้วย นวัตกรรมการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์โดยตรง เช่น STEM, Oppen Approach, PLC, Lesson Study เป็นต้น 

วิชา ๐๕๐๖๗๓๕  ควรเพิ่ม กระบวนการพัฒนาการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑  เช่น ระบบมาตรฐานการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ฯลฯ 

๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


ผมนำเสนอข้อวิพากษ์ของตนเองนี้ต่อที่ประชุมในวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๗ และนำมาเป็นแนวคิดในการประชุมกับคณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเราก็มีมติร่วมกันทั้งที่ "เอาด้วย" และ "ไม่เอาด้วย" อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราจะไม่ได้แก้ไขให้เห็น "ชัด" แบบบทวิพากษ์นี้ แต่เราก็เข้าใจดีแล้วว่า เราจะพัฒนานิสิตอย่างไร....