ผมได้เรียนรู้จากการร่วมเป็นกรรมการสอบ ป.เอก (ตามที่ได้เตรียมตัวไว้เมื่อวานนี้ (อ่านที่นี่)) ในหลายประเด็น มีความเห็นว่า หากนำประเด็นคำถามที่กรรมการมักจะถาม มาตีความและจัดลำดับ น่าจะเป็นประโยชน์กับนิสิตที่กำลังเตรียมตัวเข้า "ดีเฟ็นด์" หรือที่เรียกเล่นๆ ว่า "สอบป้องกันวิทยานิพนธ์"
ผมเข้าใจว่า ในด้านการศึกษา ระเบียบวิธีจัยทั้งหมดที่นำไปใช้แก้ปัญหา/พัฒนา จนได้ผลลัพธ์เป็นที่พอใจของอาจารย์ที่ปรึกษา จะถูกนำมาเสนอในรูปแบบ "วิจัย ๕ บท" ได้แก่ ๑)บทนำ ๒)วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ๓)วีธีดำเนินการวิจัย ๔)ผลการวิเคราะห์ข้อมูล และ ๕)สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ แล้วยื่นขอสอบ "ป้องกัน" ว่า "ฉันทำได้"
ผมสังเคราะห์คำถามของประธานสอบและกรรมการสอบ (ครั้งนี้) ให้เหลือ ๗ คำถาม เรียงลำดับจากการมองแบบองค์รวมไปลงรายละเอียด และลำดับเวลาก่อนหลัง ดังนี้
๑) ทำไมไม่เขียนผลวิจัยในบทที่ ๔) ให้ตอบโจทย์วิจัยในบทที่ ๑) ?
๒) วิธีดำเนินการวิจัยในบทที่ ๓) นำเอาข้อมูลที่ได้ทบทวน ค้นหา เรียนรู้ ที่อยู่ในบทที่ ๒) มาใช้อย่างไร (ต้องบอกให้เห็นวิธีคิดและกระบวนการสังเคราะห์ของตน)
๓) เครื่องมือที่ใช้ ใช่เหรอ? .... (รู้ได้อย่างไรว่า น่าเชื่อถือ ถูกต้อง)
๔) จากการเรียน ป.เอก หลายปี บทที่ ๑) ถึง บทที่ ๔) มี "พัฒนาการสร้างสรรค์อะไร" (ข้อค้นพบคืออะไร)
๕) อภิปรายผล เชื่อมโยง เหตุ-ผล-ข้อค้นพบ อย่างไร ทำไมเป็นอย่างนั้น
๖) จะมีใครเอางานนี้ไปใช้ไหม ทำไมเขาต้องเอางานนี้ไปใช้ อะไรที่เป็นเอกลักษณ์หรือจุดเด่น ที่ใครเห็นแล้วจะนำไปเป็นแบบอย่าง
๗) ทำไมประสบการณ์หลายปีในการแก้ปัญหา/พัฒนา จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะเหล่านี้
ผมมีความเห็นว่า นิสิตที่จะจบ ป.เอก นั้นจะต้อง "ไม่เชื่อง่าย" "ไม่ตกอยู่ในกระแส" ต้องมีอุดมการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลง พึ่งตนเอง มีหลักการ มั่นใจในความคิดของตนเอง หากรู้ว่าสิ่งนั้นๆ แท้ที่จริงแล้วเป็นต้นตอของปัญหา จะต้องไม่ "หลับตา" เดินตามไป เพียงเพื่อให้เรียนจบ ...
วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เตรียมตัวเป็นกรรมการสอบ ป.เอก เรื่อง การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นับเป็นครั้งแรกในชีวิต ที่ผมได้รับเกียรติทางด้านวิชาการ ให้เป็น "กรรมการสอบ" วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาเอก ผมรู้สึกตนเองว่ายังไม่คู่ควรมากนักในตอนนี้ อาจเพราะยังไม่มีความรู้ความสามารถด้าน "การวิจัยและประเมินผลการศึกษา" ซึ่งเป็นสาขาที่นิสิตท่านนี้ยื่นเรื่องขอสอบ ... แต่ถ้ามองต่างไป ที่คือโอกาสทองที่ผมจะได้แสดงความคิดเห็น "คนที่ไม่เคยเรียน" ด้านการวิจัยและประเมินผลการศึกษา แบบตรงไปตรงมา โดยยึดหลักปรัชญาและความเข้าใจที่ได้เรียนรู้จากครูและผู้อำนวยการจากการลงพื้นที่ทำ PLC มาช่วงระยะหนึ่ง
หัวเรื่องของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ คือ "การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" เล่มร่างวิทยานิพนธ์ที่นิสิตใช้ประกอบยื่นขอสอบ "หนาปึ๊ก" ๓๔๒ หน้า ด้วยข้อจำกัดของเวลา ผมอ่านพิจารณาแบบ "จับความเคลื่อไหว" หมายถึง การอ่านเร็วแล้วจับ "เอาประเด็น" มุ่งมองให้เห็นจุดเด่นหรือจุดเปลี่ยนหรือจุดต่าง และหยุดอ่านละเอียดเฉพาะตอนที่ได้เรียนความรู้ใหม่ .... จับประเด็นได้ดังนี้ครับ
วันนี้ลาก่อนครับ
หัวเรื่องของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ คือ "การพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย" เล่มร่างวิทยานิพนธ์ที่นิสิตใช้ประกอบยื่นขอสอบ "หนาปึ๊ก" ๓๔๒ หน้า ด้วยข้อจำกัดของเวลา ผมอ่านพิจารณาแบบ "จับความเคลื่อไหว" หมายถึง การอ่านเร็วแล้วจับ "เอาประเด็น" มุ่งมองให้เห็นจุดเด่นหรือจุดเปลี่ยนหรือจุดต่าง และหยุดอ่านละเอียดเฉพาะตอนที่ได้เรียนความรู้ใหม่ .... จับประเด็นได้ดังนี้ครับ
- รัฐบาลไทยปี ๒๕๕๒ มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนนักวิจัย นักประดิษฐ์ และนักวิทยาศาสตร์ โดยวิธีการสร้างโรงเรียนพิเศษ เช่น มหิดลวิทยานุสรณ์ ฯลฯ มีการเสนออีกโครงการที่ไม่ต้องสร้างโรงเรียนใหม่ แต่จะให้ทุนสนับสนุนกับโรงเรียนที่พร้อม จัดให้มีห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โรงเรียนละ ๑ ห้องๆ ละ ๓๐ คน แล้วเพิ่มเติมหลักสูตรและจัดการเรียนการสอนใหม่ (สสวท. กำหนด) เพื่อมุ่งให้เป็นนักวิจัย นักประดิษฐ์ หรือนักวิทย์ฯ ต่อไป โครงการนี้ใช้ทุนสนับสนุนเพิ่มเติมจากเดิมที่โรงเรียนได้รรับเพียง ๔๐๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น ... ในทางปฏิบัติ เปิดโอกาสเก็บเงินรายหัวจากผู้ปกครองอีก ๑๐,๐๐๐ บาท
- มีการติดตามผลการดำเนินงานของโครงการฯ ด้วยการใช้แบบสอบถาม ๓ ชุด กับบุคลากรโรงเรียน ผู้ปกครอง และครู ผู้วิจัยบอกว่า ยังไม่ครอบคลุมและเป็นระบบ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนารูปแบบการประเมินที่มาตอบโจทย์ดังกล่าวนี้...ซึ่งเมื่ออ่านความเห็นของผู้เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยไปทำ focus group disscussion (FGD) พบว่า ทุกคนเห็นด้วยและมีความหวังกับงานวิจัยนี้พอสมควร
- งานวิจัยนี้จะทำ ๓ อย่าง ๔ ระยะ กล่าวคือ ๑) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ๒) พัฒนารูปแบบการประเมินโรงเรียนฯ และ ๓) นำรูปแบบไปใช้ โดยระยะที่ ๑ ทำข้อ ๑) ระยะที่ ๒ ทำข้อ ๒) ส่วนข้อ ๓) แบ่งเป็นระยะที่ ๓ นำไปทดลองใช้ก่อน แล้วค่อยทำ ระยะที่ ๔ ค่อยนำไปใช้จริงกับโรงเรียน ๑ แห่ง
- ระยะที่ ๑) ผู้จัยไปสัมภาษณ์ตัวแทนผู้บริหารและครูจากโรงเรียนต่างๆ ๙ ท่าน ระยะที่ ๒) ทำ FGD ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลฯ ด้านหลักสูตรและการสอนวิทย์ ด้านละ ๓ ท่าน รวมกับผู้รับผิดชอบหรือครูผู้สอนอีก ๓ รวมเป็น ๙ ท่าน ก่อนจะนำมาพัฒนารูปแบบการประเมินฯ แล้วจัด FGD อีกครั้งด้วยผู้เชี่ยวชาญอีก ๙ ท่าน โดยไม่ซ้ำคนเดิม
- หลักคิดและหลักปฏิบัติของหลักสูตรของห้องเรียนพิเศษฯ คือ จัดให้นักเรียนได้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมในกลุ่มสาระคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์จำนวน ๓๖.๕ หน่วย และเติมรายวิชาเสริมประสบการณ์วิทยาศาตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี เช่น สืบเสาะ โครงงาน การแก้ปัญหา ฯลฯ อีก ๖ หน่วยกิต ... สรุปคือ เรียนหนักขึ้น ....เป็นที่น่าสังเกตว่า มีผู้อำนวยการโรงเรียนให้สัมภาษณ์ว่า ... โครงการนี้ไม่มีอะไรมาก แค่เรียนเพิ่มไปอีก ๖ หน่วยกิต.... แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ ไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดของกระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อปลูกฝังนักวิทย์ฯ
- โครงการนี้ สสวท. ให้ความสำคัญกับเครือข่ายการเรียนรู้เชิงพื้นที่ (หรือผมเรียกว่า LLEN) เห็นจากที่เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายกับโรงเรียน ผู้ปกครอง และมีการกำหนดแหล่งเรียนรู้นอกโรงเรียนในเกณฑ์ติดตามด้วย ถึงขนาดบางแห่งเปิดโอกาสให้คณะวิทยาศษสตร์ในมหาวิทยาลัยมาเป็นผู้จัดการเรียนการสอน
- ผู้วิจัยได้จัดทำคู่มือและแบบประเมินขึ้นโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดในการติดตามของ สสวท. และเกณฑ์ด้าน Facilities Input (เช่น เรื่องวัสดุ อุปกรณ์ ห้องเรียนฯ ) ที่กำหนดตามหลักสูตร โดยจัดทำเป็นเกณฑ์แบบลูบิค (Rubic) ในลักษณะของการ "อิงเกณฑ์" (Absolute Evaluation) (ไม่ได้เปรียบเทียบกับใครที่ไหน) .... ผมมีความเห็นเกี่ยวกับเกณฑ์ที่สร้างขึ้นว่า เป็นเกณฑ์ที่เน้นประเมินแบบตัดสิน (Decision-Oriented) มาก จะเห็นได้จากตัวชี้วัดส่วนใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยนำเข้า (Input)และกระบวนการ (Process)มากว่า มีหรือไม่มี ทำหรือไม่ทำ ส่วนด้านผลลัพธ์ที่เหลือที่พยายามจะวัด "คุณค่า" (Value-Oriented) ด้วยการตั้งเกณฑ์ด้านทักษะและความรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยยังไม่เขียนละเอียดในเล่มว่าวัดหรือประเมินอย่างไร เพียงให้ข้อมูลว่าได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์ และไป "จับเอา" จำนวน "ชิ้นงาน" และ "กิจกรรม" ที่นักเรียนได้ทำตามหลักสูตรมาเป็นตัวชี้วัด "ผลผลิต" ซึ่งจะยังไม่สามารถวัดสิ่งที่ค่อนข้างเป็นนามธรรมได้จริง เช่น อุดมการณ์ ความเป็นนักวิทย์/นักวิจัย คุณลัษณะที่พึงประสงค์ด้านสังคม ฯลฯ
- ผู้วิจัยบอกว่า ด้วยแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นนี้ ส่งผลให้โรงเรียนเป้าหมายที่เลือกเจาะจง (purposive sampling) มาเป็น "ตัวอย่าง" นี้ดีขึ้น พร้อมขึ้น ... คำตอบคือ ใช่ ... แต่ก็ยังไม่ได้ให้ How to ในการจัดการเรียนการสอนของครู ว่าทำอย่างไรจึงสำเร็จหรือดีขึ้น ...
- ผมประทับใจมากที่ ผู้วิจัย ไปสัมภาษณ์และทำ FGD แล้วเขียนนำเสนอแบบ "พรรณนาเนื้อหา" หรือ "โค๊ดคำ" ก่อนจะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งหากวิเคราะห์ให้ดี จะพบว่า วิทยานิพนธ์นี้มีข้อค้นพบมากทีเดียว
- สิ่งที่อยากเห็น ก่อนจะเปิดอ่านเล่ม แต่ยังไม่เห็น คือ ประเด็นต่อไปนี้
- อยากรู้สถิติย้อนหลังว่า มีนักเรียนในโครงการนี้กี่คน ที่ไปศึกษาต่อเป็นนักวิทยาศาสตร์ เป็นนักประดิษฐ์ กี่คนที่จบจากอุดมศึกษาแล้วยังคงอุดมการณ์นี้ได้ ....
- อยากรู้วิธีการสร้างอุดมการณ์ให้คนอยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ ...
วันนี้ลาก่อนครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)