วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗ ผมถูกอุปโลกน์ให้เป็น "ผู้เชี่ยวชาญ" ด้าน PLC (ทั้งๆ ที่ผมไม่ได้เชี่ยวชาญทฤษฎีใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้) ทราบว่านิสิตได้สอบถามไปยังผู้ใหญ่ที่บุกเบิกเรื่องทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และ "ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์" ท่านเมตตาแนะนำต่อมาที่ผม ท่านคงเห็นว่าผม กำลังตั้งหน้าตั้งตาใช้เครื่องมือ KM สร้างเครือข่าย LLEN ในเขตพื้นที่อย่างขมักเขม้น ซึ่ง CoP (Community of Practice) ของ KM ก็คือ PLC นั่นเอง
นิสิตปริญญาเอกท่านนี้สนใจจะใช้ PLC ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ปัญหาของครูประถมศึกษาจำนวน ๑๐ คน ให้สามารถใช้ PLC ในการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของตน สามารถออกแบบหลักสูตรฯ (สร้างนวัตกรรม) ออกแบบการใช้หลักสูตรฯนั้น และสามารถนำเสนอผลการใช้หลักสูตรฯ ในลักษณะของรายงานวิจัย หรือบทความวิจัยได้ (ครูนักวิจัย) .... นับเป็นงาน ๓ ชั้น ต้องการปั้นครูให้เป็นนักวิจัย ซึ่งผมเองตอนนี้ก็ทำไม่ได้ครับ....
ด้วยประสบการณ์บนเวที "ผู้เชี่ยวชาญ" ไม่มีเลย ทำให้ผมไม่สามารถสื่อสารไปยังนิสิตเจ้าของหลักสูตรฯ ได้ทั้งหมดในเวลาอันจำกัดนั้น (เพียง ๓ ชั่วโมง) จึงขอใช้บันทึกนี้สื่อไปยังท่าน และขออนุญาตเผยแพร่ เผื่อว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนิสิตคนอื่นๆ
ผมสรุปหลักสูตรฯ ของท่านเป็นรูป ๒ รูปนี้ โดยทำไว้ให้ดูง่ายในลักษณะของ Timeline รายชั่วโมง เพราะ ท่านใช้โครงสร้างระยะเวลาเป็นจำนวนชั่วโมง
วิธีการของหลักสูตรฯ นี้คือ เอากลุ่มเป้าหมายมาประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทำให้เข้าใจ PLC และสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการ PLC เทคนิคการคิดวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้แบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลเชิงประจักษ์และการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมประมาณ ๑๒ ชั่วโมง ก่อนจะให้กลุ่มเป้าหมาย กลับไปทดลองใช้กระบวนการนี้ไปแก้ปัญหาของตน ๖๐ ชั่วโมง ก่อนจะนำเสนอผลการใช้หลักสูตรฯ นั้นอีก ๑๐ ชั่วโมง ในลักษณะการนำเสนอรายงานวิจัยหรือบทความวิจัย หรือวิจัยในชั้นเรียน (ผมอยากเผยแพร่หลักสูตรฯ ฉบับเต็มให้ไปอ่านศึกษา แต่รอให้ท่านอนุญาตก่อนจะดีกว่า)
ท่านถามคำถามสุดท้ายของการ Focus Group ว่า หลักสูตรฯ นี้ใช้ได้หรือไม่ เมื่อเอาไปใช้แล้วจะสำเร็จหรือไม่ ผมตอบไปว่า "ไม่ทราบครับ" เพราะไม่ได้ขึ้นอยู่กับท่านเท่านั้น มีปัจจัยต่างๆ อีกมากมายที่ทำให้ไม่ใช่เรื่องง่าย ... อย่างไรก็ดี หากยังเป็นหลักสูตรฯ ตามโครงสร้างนี้ ผมว่ามีโอกาสสำเร็จน้อยมาก เพราะสาเหตุดังนี้
หลักสูตรฯ นี้เป็นหลักสูตร เน้นการ "ฝึกอบรม" และ "ถ่ายทอดความรู้" ไม่ใช่หลักสูตรฯ เน้นการ "เรียนรู้" และ "ร่วมมือ" ซึ่งเป็นหัวใจของ PLC สังเกตจากที่จะชุมเชิงปฏิบัติการ ๑๒ ชั่วโมง เพื่อให้เข้าใจ PLC และสามารถใช้ PLC ไปทดลองใช้ในการแก้ปัญหาได้ นับเป็นเรื่องที่ยากยิ่ง และใบความรู้ที่ใช้ ทั้งหมดเป็นการทบทวนทฤษฎีมาบอกและอภิปราย ไม่มีตัวอย่างการนำ PLC ไปใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ แม้จะยกกรณีตัวอย่าง แต่ก็เป็นเพียงตัวอย่างปัญหา ที่ให้ใช้ความรู้ในหน่วยการเรียนรู้ก่อนๆ มาประยุกต์ใช้ ซึ่งถ้าไม่เข้าใจและมีประสบการณ์ย่อมเป็นเรื่องยากยิ่ง...
จากประสบการณ์ของผม เราไม่สามารถเข้าใจ PLC ได้ด้วยระยะเวลาอันสั้น และผมคิดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงมือปฏิบัติเป็น "กระบวนกร" (Facilitator) ด้วยตนเอง และใช้กระบวนการ PLC กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเห็นตัวอย่างการปฏิบัติจริงๆ กล่าวคือ "ทำให้ดู" ใช้วิธีสร้างความเข้าใจด้วยการ สะท้อน ตั้งคำถาม ถอดบทเรียนผลจากการทดลองด้วยตนเอง และจากการซึมซับ สังเกตจากคนอื่นๆ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่ PLC องค์ประกอบต่างๆ ที่กำหนดขึ้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะลักษณะนามธรรม เช่น วิสัยทัศน์ร่วม หรือทักษะทางปัญญาต่างๆ .... ผมคิดว่านี่เป็นสาเหตุที่ครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ถามท่านว่า ท่านจะไปคุยกับกลุ่มเป้าหมายกี่ครั้งเพียงใด สม่ำเสมอหรือไม่
อย่างน้อยที่สุด เป้าหมายรายทาง (ปักหมุดของความสำเร็จ) ของหลักสูตรนี้ คือ ท่านต้องฝึกตนเองเป็น "คุณอำนวย" (หรือ ผมเรียกว่า "กระบวนกร" หรือ ที่นักวิชาการเรียก "วิทยากรกระบวนการ") และทำให้ ครูกลุ่มเป้าหมายเป็น "ครูอำนวย" ที่จะนำ PLC ไปใช้โรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของตนเอง ครูกลุ่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "ครูนักวิจัย" แต่จะเป็นครูนักวิจัยแบบ "PAR" (Participatory Action Reserch) เพราะ PLC จะเน้นการแก้ "ปัญหาหน้างาน" จาก "สนาม" จริงๆ ดังนั้น ใบความรู้เกี่ยวกับ PAR ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ น่าจะเป็นใบความรู้ที่ใช้เกิดความเข้าใจเรื่อง PLC ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ... (อย่างไรก็ดี อาจจะเป็น PLC ของครูนักวิจัย R&D ก็ได้)...
หากยึดหลักการว PAR เป็นกระบวนวิธีของ PLC ของท่าน จะทำให้ได้องค์ประกอบของ PLC ที่เป็นผลการเรียนรู้ของสมาชิก PLC เอง ซึ่งจะเกี่ยวข้องและสอดคล้องกับปัญหา สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และบริบทอื่นๆ ของโรงเรียนและชุมชน ซึ่งอาจจะไม่เหมือนกับ PLC ที่ได้ทบทวนมาก็เป็นได้
อีกความยากหนึ่งที่จะทำให้ไม่สำเร็จคือ หลักสูตรนี้กำหนด (กรอบ, รูปแบบ) ให้ครูกลุ่มเป้าหมายต้องนำเสนอผลงานเป็นรายงานวิจัย หรือบทความวิจัย ซึ่งอาจเป็นเรื่องยาก เพราะอาจจะยังเป็นครั้งแรกของครูที่ได้ทดลองใช้ PLC ในการแก้ปัญหา
คงเป็นเรื่องยากที่ผมจะเขียนอธิบายไว้ได้ทั้งหมด ... เอาเป็นว่า หากไม่เข้าใจ หรือ หรือเข้าใจไม่ตรงกัน (เหมือนวันนั้นที่คำตอบของท่าน ทำให้ผมเข้าใจว่า ครูกลุ่มเป้าหมายไม่ต้องใช้ PLC จึงทำให้มีข้อคิดเห็นว่าเนื้อหาในใบความรู้ไม่สอดคล้อง) ก็อีเมล์โต้ตอบ หรือโทรมาคุยก็แล้วกันนะครับ.... (การพูดคุยบ่อย ต่อเนื่องเป็นวิถีของ PLC อยู่แล้ว)
มีผู้ไปเรียนรู้ด้วยเยอะเลยครับ ขออนุโมทนาบุญกับท่านด้วยครับ ที่ทำให้มีงานนี้ ผมได้เรียนรู้เยอะทีเดียว
วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
องค์ประกอบของ PLC ?
อาทิตย์ที่ผ่านมา (๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๗) ไม่น่าเชื่อว่า ผมจะมีโอกาสได้มาเป็นหนึ่งในคนที่นิสิตปริญญาเอก(อย่างน้อย ๓ ท่าน) เรียกว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" ขอขอบพระคุณที่ให้เกียรติผมถึงกับเชิญไปเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมทำ Focus Group ในขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรที่จะนำ PLC เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะของครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนต่อไป
ผมได้อ่านงานเขียนเค้าโครงวิจัยของนิสิตท่านหนึ่ง ท่านสืบค้นทบทวน (Review) เกี่ยวกับองค์ประกอบของ "ชุมชนเรียนรู้วิชาชีพ" (Professional Learning Community) หรือ PLC (ผมชอบชื่อ "ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์" ที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านเรียกมากกว่า เพราะแค่เพียงชื่อก็สื่อ "ค่านิยมร่วม" ได้ชัดเจนแล้ว โดยไม่ต้องมาอธิบายอะไรกันมากมาย) ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาบันทึกเชิงวิพากษ์ไว้ เผื่อจะมีประโยชน์ต่อไป
ผมพบว่า
ผมทดลองนำทฤษฎีต่างๆ ที่นิสิตกล่าวถึงมาวาดเป็นรูป "จาน ๕ เหลี่ยม" เพราะส่วนใหญ่ทฤษฎีเหล่านั้น บอกว่า PLC มีองค์ประกอบ ๕ ประการ และบอกว่า PLC เป็นลักษณะสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) จึงได้นำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับ LO มาเป็นองค์ประกอบของ PLC (ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วย) ผมพบว่า เป็น "จาน ๕ เหลี่ยม" ใบเดียวกัน เพียงแต่ "วางคนละแบบ" หรือ "มองคนละมุม" เท่านั้น ดังรูป
ผมมีความเห็นว่า
ผมได้อ่านงานเขียนเค้าโครงวิจัยของนิสิตท่านหนึ่ง ท่านสืบค้นทบทวน (Review) เกี่ยวกับองค์ประกอบของ "ชุมชนเรียนรู้วิชาชีพ" (Professional Learning Community) หรือ PLC (ผมชอบชื่อ "ชุมชนเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์" ที่ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ท่านเรียกมากกว่า เพราะแค่เพียงชื่อก็สื่อ "ค่านิยมร่วม" ได้ชัดเจนแล้ว โดยไม่ต้องมาอธิบายอะไรกันมากมาย) ผมเห็นว่าน่าสนใจเลยนำมาบันทึกเชิงวิพากษ์ไว้ เผื่อจะมีประโยชน์ต่อไป
ผมพบว่า
- ลักษณะ(รูปแบบ (กรอบ)) ของการทบทวน เป็นการทบทวนที่เน้นเอา "ทฤษฎีตะวันตก" เป็นคำสำคัญคือ "PLC" หรือ "Professional Learning Community" เป็นศูนย์กลางในการสืบค้น สังเกตจากที่มีเฉพาะทฤษฎีที่มาจากนักศึกษาชาวตะวันตกเช่น Peter Sange, Michael J Marquardt, Shirley M Hord, Dufour & Eaker ฯลฯ ทั้งที่อ้างอิงโดยตรงและอ้างอิงผ่านงานของนักการศึกษาไทย ไม่พบ "ทฤษฎีตะวันออก" ที่มี "เป้าหมาย ลักษณะ องค์ประกอบ หรือ โครงสร้าง" คล้ายๆ กัน เช่น "Jugyo Kenkyuu" (จูเคียว เคนจู) หรือ "Lesson Study" ซึ่ง ศ.นพ.วิจารณ์ บอกว่าเป็น PLC แบบหนึ่ง (อ่านที่นี่ และที่นี่ เป็นต้น) ซึ่งกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นและเป็นวัฒนธรรมของครูญี่ปุ่น เหมือนๆ กับที่ครูไทยให้ความสำคัญเรื่อง "เขียนแผน" และทำให้การศึกษาของญี่ปุ่นเข้มแข็ง
- นอกจากนี้แล้วการทบทวนยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับความสอดคล้องกับบริบทของตนเอง ไม่ได้กล่าวถึงภูมิหลังของนิสัยใจคอ วัฒนธรรม หรือความแตกต่างระหว่างครูต่างชาติกับครูไทยซึ่งจะเป็นกลุ่มเป้าหมาย จึงไม่ได้สืบค้นว่า ในประเทศไทย โรงเรียนไหน กลุ่มใดบ้างที่ได้นำ "PLC" มาเป็นเครื่องในการพัฒนาครูและประสบผลสำเร็จแล้ว เช่น โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา (ติดตามงานของครูใหญ่วิเชียร ไชยบัง ได้ที่นี่) และ โรงเรียนเพลินพัฒนา (ติดตามงานของครูวิมลศรี ที่นี่)ฯลฯ
ผมทดลองนำทฤษฎีต่างๆ ที่นิสิตกล่าวถึงมาวาดเป็นรูป "จาน ๕ เหลี่ยม" เพราะส่วนใหญ่ทฤษฎีเหล่านั้น บอกว่า PLC มีองค์ประกอบ ๕ ประการ และบอกว่า PLC เป็นลักษณะสำคัญขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization: LO) จึงได้นำเอาทฤษฎีเกี่ยวกับ LO มาเป็นองค์ประกอบของ PLC (ซึ่งตรงนี้ผมเห็นด้วย) ผมพบว่า เป็น "จาน ๕ เหลี่ยม" ใบเดียวกัน เพียงแต่ "วางคนละแบบ" หรือ "มองคนละมุม" เท่านั้น ดังรูป
ผมมีความเห็นว่า
- การทบทวนทฤษฎีหรืองานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ควร "ยึดทฤษฎี" เป็นตัวตั้ง แต่ควร "ยึดปัญหา" เป็นตัวตั้ง คือแทนที่จะสนใจว่า "PLC คืออะไร" ควรจะให้ความสำคัญกับคำถามว่า "PLC แก้ปัญหาอะไร ได้อย่างไร ทำไมต้องมี PLC"
- เมื่อตั้งเอา "ปัญหาเป็นฐาน" (Problem-based) จะนำมาสู่การทบทวนที่ให้ความสำคัญกับ "บริบท" และลักษณะเฉพาะของกลุ่มเป้าหมาย ในที่นี้คือ "ครูชาวไทย" วัฒนธรรม นิสัยใจคอของคนไทย
- ควรจะเรียนรู้ทบทวนแบบ "PLC" แบบ "KM" หรือ "PAR" ด้วย คือเน้นการปฏิบัติและมีส่วนร่วมจริงๆ โดยไม่ยึดติดกับระเบียบวิธีวิจัยแบบ R&D เช่น นิสิตควรจะไปลองทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมปัญหากับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ ก่อนที่จะนำผลมาออกแบบแนวทางของการพัฒนา ... ผมเองมีกลุ่มเป้าหมายชัดเจนใน สพป.มค.๓ และ สพป.กส.๑ ตอนนี้ผ่านกระบวนการนี้แล้ว จึงได้ทราบบริบท ปัญหา และวัฒนธรรมองค์ของของคนที่เกี่ยวข้อง (โรงเรียน ชุมชน สำนักงานเขตฯ) พอสมควรแล้ว และตอนนี้กำลังขับเคลื่อนฯ ในขั้นต่อไป (อ่านได้ที่นี่ มีลิงค์รายงานฉบับสมบูรณ์ที่นี่)
- องค์ประกอบของ "PLC" ควรจะ "ออกมา" จาก "PLC ของกลุ่มเป้าหมาย" จริงๆ ซึ่งหากนำ "กรอบ" หรือ "รูปแบบ" ทฤษฎีลงไป จะส่งผลต่อรูปแบบและวิถีที่ควรจะเป็นในการพัฒนาตนเอง และความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่มากก็น้อย...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)